วิสัยทัศน์

ปรัชญา

คณะวิทยาศาสตร์ มีปณิธานมุ่งมั่นในการปฏิบัติ ภารกิจ ให้เป็นไปตาม ปรัชญาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเป็นสถาบันที่มีปณิธานที่มุ่งมั่นในการสั่งสมเสาะแสวงหา และ วัฒนาความรู้ให้เกิดความเจริญงอกงามทางภูมิปัญญา ที่เพียบพร้อมด้วยวิชาการ จริยธรรม และคุณธรรม ตลอดจนเป็นผู้ชี้นำทิศทางสืบทอดเจตนารมณ์ที่ดีทางสังคม เพื่อความคงอยู่ ความเจริญ และความเป็นอารยะของชาติ โดยการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาต่าง ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งกอรปด้วยจริยธรรมและคุณธรรม รวมทั้งการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีการค้นคว้าวิจัยทางด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาทางการเรียนการสอน ส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รอบรู้กว้างทันต่อกระแสโลกาภิวัฒน์ ให้บริการวิชาการแก่สังคมตามโอกาสที่เหมาะสม พร้อมกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม


ปณิธาน

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีความคิด มีจิตสำนึกในคุณธรรมจริยธรรม ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่สร้างสรรค์ รู้จักปรับตัว และพัฒนาตนให้เข้ากับสังคมโลก ธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และยึดมั่นในหลัก “คุณธรรมนำเทคโนโลยี”


วิสัยทัศน์ (vision)

วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน

“เป็นเลิศด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในระดับอาเซียน”

“Excellence in Research and Innovation for sustainable development in ASEAN”

บทบาท (Role) Why exist

เป็นแหล่งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคม ค้นคว้าวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมผ่านการวิจัยและบริการวิชาการ


ค่านิยมองค์กร (Core Value) คือ SCiKU


ภารกิจ (mission) ของหน่วยงานพันธกิจ

ผลิตบัณฑิตที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน ยึดมั่นในคุณธรรม สร้างสรรค์งานวิจัยที่เป็นเลิศ เพื่อการพัฒนาชาติและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนผ่านการบริการวิชาการ


วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน (Organizational objectives)

  1. ยกระดับคุณภาพงานวิจัย บูรณาการและต่อยอดงานวิจัยสู่นวัตกรรม เพื่อความเป็นเลิศในระดับอาเซียนและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจตามนโยบายพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  2. พัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
  3. ผลิตบัณฑิตมีสมรรถนะสูงที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  4. ให้บริการวิชาการสังคม/ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนในสังคมและชุมชน และสร้างรายได้ให้คณะ
  5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กร พัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน
    • ส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนงานและสร้างนวัตกรรมในการทำงาน
    • บริหารความร่วมมือภาคีเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร
    • เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก และสร้าง Branding
    • จัดระบบสารสนเทศและฐานข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและการตัดสินใจ
    • เพิ่มพูนทักษะและศักยภาพของบุคลากร จัดการองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศ
    • สร้างความผูกพันในองค์กร สร้างธรรมาภิบาล ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ดี
    • สร้างความมั่นคงทางการเงิน บริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มรายได้ที่นอกเหนือจากค่าหน่วยกิต

ยุทธศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1. สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับอาเซียน ผลิตบัณฑิตที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ขยายโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกช่วงวัย

กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาศักยภาพนิสิตเพื่อความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สร้างและส่งเสริมทักษะจำเป็นตามศตวรรษที่ 21 เพื่อให้บัณฑิตเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
กลยุทธ์ที่ 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรสายวิชาการ ในการจัดการเรียนการสอนและการผลิตผลงานทางวิชาการ
กลยุทธ์ที่ 1.3 ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรตามผลลัพธ์การเรียนรู้ และให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน
กลยุทธ์ที่ 1.4 พัฒนารายวิชาหรือหลักสูตรออนไลน์ และสนับสนุนการสร้างหลักสูตรบูรณาการใหม่ร่วมกับคู่ความร่วมมือ
กลยุทธ์ที่ 1.5 ส่งเสริมบูรณาการชุดวิชา สร้างหลักสูตรแบบ non-degree เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ หรือยกระดับคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์ที่ 1.6 สร้างและบริหารเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเพิ่มศักยภาพหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน
กลยุทธ์ที่ 1.7 เพิ่มอัตราการคงอยู่และอัตราการสำเร็จการศึกษาของนิสิต

ยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการการวิจัย สร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาประเทศด้วยการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน และสร้างความเป็นเลิศในระดับอาเซียน

กลยุทธ์ที่ 2.1 พัฒนาศักยภาพนักวิจัย เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความสามารถในการแข่งขัน
กลยุทธ์ที่ 2.2 ส่งเสริมการวิจัย สนับสนุนทรัพยากรและสร้างบรรยากาศการวิจัย
กลยุทธ์ที่ 2.3 สร้างเครือข่ายนักวิจัย โดยเน้นการบูรณาการ และแสวงหาคู่ความร่วมมือใหม่ที่มีศักยภาพสูง บริหารเครือข่ายความร่วมมือ
กลยุทธ์ที่ 2.4 สร้างผลงานวิจัยระดับแนวหน้า (Frontier Research) และนวัตกรรม กับคู่ความร่วมมือ
กลยุทธ์ที่ 2.5 ส่งเสริมผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้เกิดการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะ และเชิงนโยบาย
กลยุทธ์ที่ 2.6 เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาให้ชุมชน/สังคม ด้วยองค์ความรู้ผ่านงานบริการวิชาการ

กลยุทธ์ที่ 3.1 สร้างกลไกเชื่อมโยงความต้องการการรับบริการวิชาการทางวิชาการกับความเชี่ยวชาญ ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการบริการวิชาการเพื่อการหารายได้ในการพัฒนาคณะ
กลยุทธ์ที่ 3.2 สร้างความเข้มแข็งทางการบริการวิชาการผ่านคู่ความร่วมมือ และแสวงหาคู่ความร่วมมือใหม่ สร้างความต่อเนื่องในการร่วมมือ เพื่อให้บริการวิชาการที่สร้างผลกระทบทั้งระดับชาติและนานาชาติ
กลยุทธ์ที่ 3.3 สนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและบุคลากรของคณะฯ มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม/ชุมชน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดียิ่งขึ้น
กลยุทธ์ที่ 3.4 บูรณาการองค์ความรู้จากการบริการวิชาการในการเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ยกระดับความผูกพันต่อองค์กร

กลยุทธ์ที่ 4.1 พัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อสร้างความเชี่ยวชาญ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ที่ 4.2 บริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาลทั่วทั้งองค์กร
กลยุทธ์ที่ 4.3 บูรณาการข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
กลยุทธ์ที่ 4.4 พัฒนา/ปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนและการวิจัย และการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ที่ 4.5 บริหารเงินรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริหารสินทรัพย์เพื่อก่อให้เกิดรายได้
กลยุทธ์ที่ 4.6 จัดการองค์ความรู้ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนงาน เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมในการทำงาน
กลยุทธ์ที่ 4.7 ยกระดับความผูกพันของบุคลากร นิสิตปัจจุบันและนิสิตเก่า รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของนิสิตเก่า
กลยุทธ์ที่ 4.8 สร้างประสิทธิภาพในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์กร