เครื่องฉายรังสีแกมมา มาร์ค วัน (MARK I IRRADIATOR)
        เครื่องฉายรังสีแกมมา มาร์ค วัน เป็นขื่อทางการค้าของเครื่องฉายรังสี รุ่น
Mark I 30 (Serial Number 1116) ของบริษัท J.L. SHEPHERD ASSOCIATES
ประเทศสหรัฐอเมริกา ภาควิชารังสีประยุกต์และโอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดซื้อด้วยเงินงบประมาณปี 2539 เป็นจำนวน
เงิน 6.5 ล้านบาท โดยดำเนินการติดตั้งเรียบร้อยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2540

        เครื่องฉายรังสีแกมมา มาร์ค วัน เป็นอุปกรณ์ฉายรังสีที่มีต้นกำเนิดรังสีและ
เครื่องป้องกันรังสีอยู่ในตัวเสร็จ เครื่องป้องกันรังสีโดยทั่วไปคือ ตะกั่ว ดังนั้นลักษณะ
ของเครื่องฉายรังสี มาร์ค วัน ก็คือหม้อตะกั่วที่มีต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายในและมีช่อง
สำหรับนำตัวอย่างเข้าไปฉายรังสี(sample irradiation chamber) สำหรับช่องใส่ตัว
อย่างของเครื่องฉายรังสี มาร์ค วัน นี้สามารถเลือกตำแหน่งในการวางตัวอย่างได้
ถึง 3 ตำแหน่งโดยแต่ละตำแหน่งมี turntable สำหรับวางตัวอย่างโดยที่ turntable
นี้จะหมุนอยู่ตลอดเวลาในขณะที่นำตัวอย่างเข้าฉายรังสี ทั้งนี้เพื่อให้ตัวอย่างได้รับ
รังสีอย่างสม่ำเสมอ นอกจากตัวเครื่องฉายรังสีแล้วจะมีส่วนควบคุมการทำงานของ
เครื่องฉายรังสีและเครื่องปั๊มลมอยู่ใกล้ๆ กับตัวเครื่องฉายรังสีด้วย

        ในขณะที่ยังไม่ใช้งานต้นกำเนิดรังสีจะถูกเก็บไว้ตรงส่วนล่างของเครื่อง การนำต้นกำเนิดรังสีขึ้นลงใช้ระบบลมเป่า
ให้ขึ้นลงตามท่อ (pneumatic cable cylinder) ต้นกำเนิดรังสีจะเคลื่อนจากตำแหน่ง "OFF" มายังตำแหน่ง "irradiation
chamber"
ใช้ระยะเวลาน้อยกว่า 2 วินาที และกลับสู่ตำแหน่ง "OFF" ใช้ระยะเวลาน้อยกว่า 1 วินาที

        ปริมาณรังสีที่ตัวอย่างได้รับจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของ turntable ที่เลือกใช้และระยะเวลาในการฉายรังสี

        ในเรื่องการป้องกันความปลอดภัยของผู้ใช้ นอกจากเครื่องป้องกันรังสีในตัวเครื่องแล้วประตูและการควบคุมแหล่งรังสี
จะเป็นระบบ "fully interlocked" หมายความว่าถ้าประตูเปิดอยู่หรือปิดไม่สนิท จะไม่สามารถยกต้นกำเนิดรังสีขึ้นมาได้เลย
และถ้าต้นกำเนิดรังสียังอยู่ที่ตำแหน่ง "irradiation chamber" ก็จะไม่สามารถเปิดประตูได้เช่นกัน

        อุปกรณ์ตรวจสอบปริมาณรังสีในบริเวณเครื่องฉายรังสี เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติหน้าที่อีกอย่าง คือ เครื่องวัดรังสี
(Xetex 520 A radiation moniter)
ส่วนของเครื่องวัดรังสีจะเชื่อมต่อกับระบบ interlock ของเครื่องฉายรังสี มาร์ค วัน และจะต้อง
อยู่ในสภาพเปิดใช้งานตลอดเวลา (ON) ถ้าบริเวณเครื่องฉายรังสีมีปริมาณรังสีสูงกว่า 5 mR/hr สัญญาณของเครื่องวัดจะดัง
และไม่สามารถใช้งานเครื่องฉายรังสีนี้ได้ หรือหากต้นกำเนิดรังสีอญู่ในตำแหน่ง "ON" ต้นกำเนิดรังสีจะเคลื่อนลงสู่ที่เก็บ
ด้านล่างโดยอัตโนมัติ และถ้าเครื่องฉายรังสีนี้ไอยู่ในสภาพไม่เปิดใช้งาน (OFF) ก็ไม่สามารถจะใช้เครื่อง มาร์ค วัน ได้

รายละเอียดเกี่ยวกับต้นกำเนิดรังสี (radiation source)

  1. แหล่งกำเนิดรังสี Cesium - 137
  2. ค่าครึ่งอายุ 30 ปี
  3. ความแรงรังสี 4500 Ci (116.6 terabequuerels Cesium - 137)
  4. ปริมาณรังสี (exposure dose) จะมีค่าแตกต่างกันตามการเลือกตำแหน่งของ turntable ทั้งนี้บริษัทผู้ผลิตได้ดำเนินการตรวจวัด เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2540 พบว่าปริมาณรังสีที่ตำแหน่งต่างๆ มีดังนี้

    Turntable # 1 100 % = 1,663.88 R/minute
    Turntable # 2 100 % = 843.49 R/minute
    Turntable # 3 100 % = 493.38 R/minute
    (R = roentgen)

Gamma room

        อาคารฉายรังสีแกมมา     เป็นอุปกรณ์การฉายรังสีที่ทาง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยภาควิชารังสีประยุกต์และ
ไอโซโทป คณะวิทยาศาสตร์  ได้ขอความช่วยเหลือในการ
จัดสร้างจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA)
เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน การวิจัยและให้บริการฉาย
รังสีพืช ทดแทนเรือนรุกขรังสีที่ได้หยุดใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.
2526 โดยในปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลสหราชอาณาจักรแห่งบริเตน
ใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ ผ่านทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ
เกี่ยวกับออกแบบและควบคุมการก่อสร้างอาคารฉายรังสีรวม

ทั้งอุปกรณ์ต้นกำเนิดรังสี เครื่องมือวัดรังสีและอุปกรณ์ที่จำเป็นในวงเงิน 269,050 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้รัฐบาลไทยยังได้
จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าก่อสร้างอาคารฉายรังสีแกมมาอาคารสำนักงานและห้องปฏิบัติการวิจัย รวมทั้งเรือนเพาะชำ
เป็นเงิน 17,711,109.50 บาทและได้มีการก่อสร้างพร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2540 และเริ่มใช้งานได้ใน
เดือนพฤษภาคม 2541
       ปัจจุบันอาคารฉายรังสีแกมมา และอาคารประกอบต่างๆ อยู่ในความดู
แลของศูนย์ บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ (Gamma Irradiation Service and Nuclear Technology Research
Center , Kasetsart University)
ตัวอาคารฉายรังสีแกมมาเป็นอาคารแบบปิด มีพื้น
ทีใช้สอยรวม 168 ตารางเมตร ภายในอาคารแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนควบคุม
การทำงานของเครื่องฉายรังสี (control room) และส่วนของห้องฉายรังสีแกมมา
(gamma room)
ตัวอาคารฉายรังสีมีผนังและหลังคาเป็นคอนกรีตหนาสามารถกำบัง
รังสีให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อม ภายในห้อง
ฉายรังสีแกมมาได้อกแบบให้สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิและแสง
สว่างให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชและเนื้อเยื่อพืชที่นำมาฉายรังสีได้
       ต้นกำเนิดรังสีที่ติดตั้งในอาคารฉายรังสีแกมมาคือ โคบอลต์ - 60 มีกำลังแรง
รวม 800 คูรีประกอบด้วยต้นกำเนิดรังสี 3 ส่วนที่บรรจุไว้ในท่อส่งต้นกำเนิดรังสี
ที่แยกจากกัน มีกำลังแรง 200 คูรี จำนวน 2 ท่อ ส่วนอีก 1 ท่อ มีกำลังแรง 400
คูรีอาคารฉายรังสีแกมมานี้สามารถฉายรังสีให้กับตัวอย่างได้ทั้งแบบเฉียบพลัน
และแบบเรื้อรัง

       การฉายรังสีแก่ตัวอย่างภายในอาคารฉายรังสีแกมมาสามารถเลือกใช้ต้น
กำเนิดรังสีที่มีอยู่ได้ทั้งแบบครั้งละต้นกำเนิด พร้อมกัน 2 ตันกำเนิด หรือพร้อม
กันทั้ง 3 ต้นกำเนิด และสามารถเลือกใช้การควบคุมต้นกำเนิดรังสีได้ทั้งแบบ
ควบคุมโดยผู้ปฏิบัติงาน (manual control) หรือควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
(computer control) โดยปกติการใช้งานอาคารฉายรังสีแกมมาจะอยู่ในความ
รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่